ศูนย์ศึกษาการพัฒนา พิกุล ทอง แก่ ปัญหา

ความเป็นมาและพระราชดำริ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นหน่วยงานที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้น เพื่อมีหน้าที่ทำการศึกษา ค้นคว้า แล้วนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้านั้น ไปใช้ขยายผลในการพัฒนา โดยทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่ ต่างๆของประเทศรวม 6 ศูนย์คือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองจังหวัดนราธิวาส, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนจังหวัดฉะเชิงเทรา, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานจังหวัดสกลนคร, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้จังหวัดเชียงใหม่,ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายจังหวัดเพชรบุรีและศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนจังหวัดจันทบุรี โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เป็นศูนย์ที่ทรงมีพระราชดำริ ให้ตั้งขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ. 2525 ทั้งนี้ทรงมีพระราชประสงค์ในเบื้องต้นเพื่อให้ทำการศึกษา ค้นคว้า การแก้ปัญหาดินเปรี้ยวที่เกษตรกรทำนาได้ผลไม่คุ้มค่า ซึ่งข้อเท็จจริงการแก้ปัญหาเรื่องดินนั้น ต้องทำควบคู่กันไปในหลายด้านคือด้านป่าไม้ แหล่งน้ำ และ อื่นๆด้วย ต่อมาเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลจึงมีรูปแบบการทำงานที่ผสมผสานการทำงานของหน่วยงานด้านอื่นๆด้วย ซึ่งปัจจุบันมีส่วนราชการเข้าร่วมดำเนินงานประมาณ 30 หน่วยงาน

สำหรับงานป่าไม้ เป็นงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการดำเนินการศึกษา ค้นคว้าและจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่โครงการให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าพรุ(peatswampforest) ที่มีน้ำจืดท่วมขังอยู่เกือบทั้งปี มีเนื้อที่ประมาณ193,559 ไร่ ซึ่งสามารถจำแนกพื้นที่พรุของจังหวัดนราธิวาสโดยอาศัยข้อมูลสภาพของพรรณไม้และสภาพของดินในพื้นที่พรุออกเป็น 3 เขตคือ

เขตสงวน (preservation zone)
เขตนี้เป็นเขตใจกลางพรุเป็นป่าพรุดั้งเดิมที่ยังคงมีความสมบูรณ์มีเนื้อที่ประมาณ 56,906 ไร่

เขตอนุรักษ์(conservationzone) เขตนี้เป็นเขตที่พบสังคมพืชอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมซึ่งเปลี่ยนสภาพมาจากป่าพรุดั้งเดิมที่

สมบูรณ์ถูกทำลายด้วยการระบายน้ำออกจากป่าพรุ และเกิดไฟป่าเผาไหม้10มีเนื้อที่ประมาณ 112,188ไร่

เขตพัฒนา(developmentzone) เขตนี้เป็นเขตที่ป่าพรุได้ถูกทำลายเปลี่ยนสภาพไปหมดแล้วส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทุ่งร้างไม่มี

พรรณไม้ยืนต้นขึ้นอยู่สภาพของดินมีชั้นของดินอินทรีย์คงเหลืออยู่น้อยมากเขตนี้กำหนดให้ใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อการกสิกรรมหรือทำการปลูกป่าในลักษณะของสวนป่าเศรษฐกิจ

ในส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ปัจจุบันนี้ นั้น โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส เดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมป่าไม้ (เดิม) มีภารกิจหลักเป็นหน่วยงานศึกษา ค้นคว้า และวิจัยด้านป่าไม้ โดยเน้นงานวิจัยด้านป่าพรุ โดยเฉพาะด้านการปลูกและฟื้นฟูป่าพรุ ควบคู่กับด้านนิเวศวิทยาป่าไม้และอื่นๆ นอกจากนี้มีภารกิจเสริมอีกหลายกิจกรรมภายใต้แผนงานของโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดนราธิวาสเช่น การเพาะชำกล้าไม้แจกจ่ายฟรีแก่ประชาชนและหน่วยงานของรัฐ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แผ่นดิน จัดทำโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนมีใจอนุรักษ์การจัดสร้างแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้และอนุรักษ์พันธุ์ไม้ งานด้านส่งเสริมประชาสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ รวมถึงการช่วยดับไฟและป้องกันไฟป่าในป่าพรุ และที่สำคัญคืองานสนองงานพระราชดำริต่างๆของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงค์ ที่พระองค์ได้มีพระราชดำริหรืกระแสพระราชดำรัสต่างๆ ไว้เป็นต้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 2ตุลาคม 2546รัฐบาลได้ปฏิรูปราชการ ได้แยกกรมป่าไม้ออกเป็น3กรม กิจกรรมงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ (เดิม) ทั้งหมดถูกกำหนดให้เป็นหน่วยงานหนึ่งอยู่ภายใต้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีหน่วยงานสนองงานภารกิจของกรมป่าไม้ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งให้จัดตั้ง โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส เป็นหน่วยงานสังกัดกรมป่าไม้ขึ้นมาใหม่ เมื่อปี 2547

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย 1.เพื่อสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง 2.เพื่อศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย และ สำรวจ หาข้อมูลเกี่ยวกับป่าไม้ในป่าพรุ และป่าอื่นๆ ในพื้นที่ภาคใต้ มาใช้ในการพัฒนาและส่ง เสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนที่อยู่อาศัยรอบๆ ป่าพรุ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส 3.เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติป่าพรุพรุ และป่าอื่นๆ ในพื้นที่ภาคใต้ให้คงอยู่ตลอดไป 4.เพื่อสาธิตและเผยแพร่งานด้านการประโยชน์ไม้และของป่าพรุในป่าพรุพรุ และป่าอื่นๆในพื้นที่ภาคใต้ต่อสู่สาธารณชน

5.เพื่อผลิตกล้าไม้ แจกจ่ายสู่ราษฎร นำไปปลูกขยายผลในพื้นที่ของราษฎร

ระยะเวลาดำเนินงานและผลการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2550 นี้ สามารถดำเนินงานได้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายในแผนการปฏิบัติงานทุกประการ รวมทั้งได้ดำเนินงานในกิจกรรม

อื่นเพื่อสนับสนุนแผนการดำเนินงานปกติอีกหลายกิจกรรม มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป
ดำเนินการเพาะชำกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายฟรีให้แก่ประชาชนและหน่วยงานราชการทั่วไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมทั้งได้ไม้ไว้ใช้สอยตลอดจนตกแต่งอาคารสถานที่ให้ร่มรื่น ได้กล้าไม้ 30,000 กล้า ได้แก่ พะยอม ดาหลา ตะเคียนทอง อินทนิน ตีนเป็ด จามจุรี ราชพฤกษ์ หมากเหลือง กระถินเทพา หมากเขียว มันปู หมากนวล มะฮอกกานี ตะลิงปิง เป็นต้น ในรอบปี 2550 ที่ผ่านมามีประชาชน และส่วนราชการ ตลอดจนนักเรียน นักศึกษา มาขอรับบริการเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ ยังได้สนับสนุน กล้าไม้ไปแจกฟรีในงานนิทรรศการนอกสถานที่ ณ จุดต่าง ๆ อีกหลายครั้ง

เพาะชำกล้าไม้มีค่า
ดำเนินการเพาะกล้าไม้มีค่า หายาก เพื่อสนับสนุนโครงการพิเศษ และแจกจ่ายให้แก่ประชาชน และหน่วยงานราชการทั่วไป ทั้งนี้เพื่อเป็น การส่งเสริมการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมทั้งได้ไม้ไว้ใช้สอยตลอดจนตกแต่งอาคารสถานที่ให้ร่มรื่น โดยการเก็บเมล็ดจากแม่ไม้ที่ดี มีคุณภาพ มาเพาะชำในถุงดิน ขนาด 5×8 นิ้ว จำนวน 30,000 กล้า เช่น มะถังแต้ นมแมว หมากแดง ผักหวานป่า ตะเคียนทอง ตำ หยาว ยางวาด ส้มแขก ประ หูยาน ขี้กวาง มะพุด รักนา สารภีทะเล เป็นต้น

งานศึกษาทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยไม้เสม็ด
ดำเนินการทดลองกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากใบไม้เสม็ดขาว จากพื้นที่ต่าง ๆ ในจังหวัดนราธิวาส และนำน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ไปแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ ใบไม้เสม็ดขาวที่ทางโครงการฯ นำมาทดลองกลั่นนั้น จะมีทั้งใบไม้เสม็ดขาวแบบสด และแบบแห้ง ซึ่งใบไม้เสม็ดขาวแบบ แห้งจะให้น้ำมันได้ดีกว่าแบบสด ผลิตภัณฑ์ที่นำน้ำมันหอมระเหยมาแปรรูป คือ โลชั่นทากันยุง แชมพูสระผม และยาหม่อง

งานศึกษาการใช้ประโยชน์ไม้เสม็ดขนาดเล็ก
ดำเนินการแปรรูปไม้เสม็ดขาวในขนาดที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์จากไม้เสม็ดขาวให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ที่ครอบกระถางต้นไม้ หิ้งพระ กรอบรูป ชั้นวางของ เป็นต้น

งานอำนวยการ และประสานการดำเนินงาน
อำนวยการและบริหารโรงงานหัตถกรรมไม้เสม็ดขาว เพื่อวางแผนให้เป็นโรงงานต้นแบบใช้ขยายผลการใช้ประโยชน์ไม้เสม็ดขาว และไม้อื่น ๆ ในท้องถิ่นสู่ประชาชน และชุมชน อีกทั้งได้ดำเนินการเพื่อการสนับสนุนการปฏิบัติงานวิจัยและรวบรวมข้อมูลงานวิจัยด้านป่าพรุ โดยเฉพาะ ข้อมูล ด้านวนวัฒนวิทยาของพันธุ์ไม้ป่าพรุ การจัดทำเอกสารและนำเผยแพร่สู่ประชาชนในทุกรูปแบบ รวมทั้งประสานงานและให้ บริการกับนักวิจัยจากหน่วยงานอื่นที่เข้ามาปฏิบัติงานวิจัยด้านป่าพรุ และเป็นแผนงาน ที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานการตอบรับหนังสือราชการงานสารบัญ งานธุรการ ตลอดจนการรวบรวม การจัดทำรายงานแผน/ผล การปฏิบัติงานประจำเดือน/ปี รวมทั้งจัดทำเอกสารใบสำคัญการ เบิกจ่ายงบประมาณของโครงการฯ สำเร็จผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการ

งานอื่น ๆ นอกเหนือจากแผนงานปกติ

การเตรียมการรับเสด็จ
ได้ทำการจัดเตรียมพื้นที่รับเสด็จ ที่บริเวณ งานป่าไม้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส ท้องที่ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอ เมือง จังหวัดนราธิวาส เพื่อเฝ้ารับเสด็จและกราบบังคมทูลถวายรายงานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550ได้ทำการจัดเตรียมพื้นที่รับเสด็จ ที่ฟาร์มตัวอย่างบ้านรอตันบาตู ท้องที่ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เพื่อเฝ้ารับเสด็จ และกราบบังคมทูลถวายรายงานสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ที่ทรงมีกำหนดการจะเสด็จพระราชดำเนินทรง งานในวันที่ 21 สิงหาคม 2550

จัดนิทรรศการต่าง ๆ
1.ร่วมจัดกิจกรรมในงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2550 ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิม พระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2550

2.ร่วมจัดนิทรรศการในงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ ประจำปี 2550 ณ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี (สำนักงานป่าไม้ เขตปัตตานี เดิม) เมื่อวันที่ 17 – 18 มกราคม 2550

3.ร่วมกับส่วนราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดนิทรรศการด้านธรรมชาติ และแจกกล้าไม้ ในงานกาชาด และงานประจำปีจังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2550 – 5 พฤษภาคม 2550

4.ร่วมจัดนิทรรศการในงานสมโภชศาลหลักเมือง และงานกาชาด จังหวัดยะลา เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ประจำปี พ.ศ. 2550 ระหว่างวันที่ 25 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2550

5.ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส จัดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานของโครงการฯ ผลการศึกษาวิจัย งานด้าน วิชาการป่าไม้ สาธิตการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากใบเสม็ดขาว การใช้ประโยชน์จากไม้เสม็ด และแจกจ่ายกล้าไม้ฟรีแก่เด็กนักเรียน และ ประชาชนผู้เข้าชมที่บริเวณงานป่าไม้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง งาน “80 พรรษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์” ระหว่างวันที่ 3 – 11 กันยายน 2550

6.ร่วมกับส่วนราชการในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดนิทรรศการด้านธรรมชาติ และแจกกล้าไม้ ในงานวันของดีเมืองนรา ระหว่างวันที่ 21 – 30 กันยายน 2550

งานด้านปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ 1.ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส จัดงาน “วันรณรงค์ปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ณ บ้านโคกอิฐ – โคกใน หมู่ที่ 2 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 3 สิงหาคม 2550

2.สนับสนุนกล้าไม้ และป้ายชื่อต้นไม้ เพื่อทรงปลูก แก่ส่วนราชการต่าง ๆ ที่ขอการสนับสนุนมา

ที่อยู่
เขตพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

ประโยชน์ต่อประชาชน 1. ศึกษาหาแนวทางการปลูกและฟื้นฟูสภาพป่าพรุที่เสื่อมโทรม 2. เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ แหล่งเก็บเมล็ดพันธุ์ และ แหล่งค้นคว้าทางวิชาการป่าไม้ 3. ขยายผลงานการวิจัย ไปสาธิตขยายผล ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่น ที่เป็นสภาพป่าพรุ 4. ให้มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางของการวิจัย ค้นคว้า บริการ และถ่ายทอดความรู้ ด้านป่าพรุ สู่ประชาชนนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และ ผู้สนใจ

5. ดำเนินการศึกษาทดลองวิจัย การฟื้นฟูและบำรุงรักษาพื้นที่ป่าพรุ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ การส่งเสริมใช่ประโยชน์จากป่า และพันธุ์ไม้ป่าต่างๆ

Neuester Beitrag

Stichworte