ความ แตก ต่าง ของโครงงาน แต่ละ ประเภท

ความ แตก ต่าง ของโครงงาน แต่ละ ประเภท

บทเรียนที่ 1 เริ่มต้นกับโครงงานวิทยาศาสตร์

ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเพื่อพบข้อความรู้ใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ

ทางวิทยาศาสตร์ด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาโดยมีครูอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา

ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

1. โครงงานประเภทการทดลอง

2. โครงงานประเภทการสำรวจรวบรวมข้อมูล

3. โครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์

4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีและหลักการ

1. โครงงานประเภทการทดลอง

เป็นโครงงานที่มีการสำรวจรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาจำแนกเป็นหมวดหมู่ นำเสนอใน แบบต่าง ๆ เพื่อให้เห็นลักษณะ หรือเป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่จะมีผลต่อการทดลอง ความสัมพันธ์ของเรื่องที่ศึกษาได้ชัดเจนขึ้น

2. โครงงานประเภทการสำรวจรวบรวมข้อมูล

การศึกษาพฤติกรรมระหว่างมดกับหนอนชอนเปลือกต้นลองกอง

ศึกษาความสว่างของแสงภายในห้องเรียนของโรงเรียนปัญญาวรคุณ

การสำรวจความหลากหลายของแมลงกลางคืนในท้องที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

การสำรวจหอยโข่งที่มีพยาธิแองจิโอสตรองไจรัส บริเวณแหล่งน้ำชุมชน อ.เมือง จ.มหาสารคาม

3. โครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์

เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ อาจคิดประดิษฐ์ของใหม่ หรือปรับปรุง ดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ตัวอย่างโครงงานประเภทการสร้างสิ่งประดิษฐ์

Digital Counter

เครื่องขจัดคราบน้ำมัน

เครื่องตรวจ(pH)ดินเพื่อปลูกผัก

เครื่องกำจัดฝุ่นละอองในโรงงานโม่หิน

กล่องดักจับแมลงวันไฮเทค (จากพฤติกรรมการบินของแมลงวัน)

4. โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎี

เป็นโครงงานที่ได้เสนอทฤษฎี หลักการ หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบายก็ได้ โดยผู้เสนอได้ตั้งกติกา หรือข้อตกลงนั้น หรืออาจใช้กติกาและข้อตกลงเดิมมาอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในแนวใหม่ อาจเสนอหลักการ แนวความคิด หรือจินตนาการที่ยังไม่มีใครคิดมาก่อน อาจเป็นการขัดแย้งหรือขยายทฤษฎีเดิม แต่จะต้องมีข้อมูลหรือทฤษฎีอื่นมาสนับสนุน อ้างอิง ตัวอย่างโครงงานประเภทการสร้างทฤษฎี

เนื่องจากโครงงานประเภทนี้ ผู้ทำโครงงานจะต้องมีพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี และต้องทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก จนมีความรู้อย่างกว้างขวาง และลึกซึ้งในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงยังไม่เคยมีผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทนี้ส่งเข้าประกวดกับสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทยเลย

ตัวอย่างโครงงานต่อไปนี้จึงมิได้เป็นโครงงานที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาเป็นผู้ทำไว้

  • ทฤษฎีสัมพันธภาพ (E = mc2)
  • การอธิบายอวกาศแนวใหม่
  • กำเนิดของทวีปและมหาสมุทร
  • การกำเนิดของแผ่นดินไหวในประเทศไทย
  • การอธิบายเรื่องราวการดำรงชีวิตในอวกาศของมนุษย์

Return to contents

บทเรียนที่ 2 ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้วนักเรียนควรจะเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วยตนเอง แต่ครูอาจมีบทบาทหรือมีส่วนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ด้วยตนเอง ดังจะได้กล่าวต่อไป

ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงาน

ได้แก่ การวางแผนวิธีดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวมข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม และขอความเห็นชอบ

ขั้นที่ 3 การลงมือทำโครงงาน

ได้แก่ การลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ล่วงหน้าแล้วในขั้นที่สองนั่นเอง ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างหรือการประดิษฐ์ การปฏิบัติการทดลอง ซึ่งสุดแล้วแต่จะเป็นโครงงานประเภทใดและการค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ แล้วดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งความหมายของข้อมูล และสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า

ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน

เป็นการเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นเอกสาร เพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงาน ซึ่งจะประกอบด้วยปัญหาที่ทำการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนประโยชน์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น ๆ วิธีเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ก็มีลักษณะและแนวทางในการเขียน เช่นเดียวกับการเขียนรายงานผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์นั่นเอง

ขั้นที่ 5 การแสดงผลงาน

เป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ซึ่งอาจกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ การสาธิตแสดงประกอบการรายงานปากเปล่า ฯลฯ

ในการจัดแสดงผลงานของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ครูอาจกระทำได้ในหลายระดับ เช่น - การจัดเสนอผลงานภายในชั้นเรียน - การจัดแสดงนิทรรศการภายในโรงเรียนเป็นการภายใน - การจัดแสดงนิทรรศการในงานประจำปีของโรงเรียน

- การส่งโครงงานเข้าร่วมในงานแสดงหรือประกวดภายนอกโรงเรียนในระดับต่าง ๆ เช่น ระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับจังหวัดระดับเขตการศึกษา และระดับชาติ เป็นต้น


Return to contents

บทเรียนที่ 3 โครงงานวิทยาศาสตร์ทดลอง

เด็กหญิงวิชาดา ธรรมนาม เด็กชายศราวุธ พรหมเลิศ และเด็กชายมาโนช สวัสดีครูที่ปรึกษา นายสมจิตร สามีสถานที่ทำโครงงาน โรงเรียนบ้านบึง ตำบลดอนแรด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

บทที่ 1 บทนำ

ที่มาและความสำคัญ มะนาวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของท้องถิ่น สามารถที่จะพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่ละปีจะมีผลผลิตจากมะนาวเป็นจำนวนมากในช่วงฤดูฝนปริมาณของมะนาวที่ล้นตลาด จน ทำให้มีราคาต่ำ คณะจัดทำโครงงานจึงร่วมกันหาแนวทางดัดแปลงมะนาวที่ล้นตลาดไว้ในรูปผลิตภัณฑ์ อื่น ๆ โดยนำน้ำมะนาวมาเป็นส่วนผสมของครีมรักษาส้นเท้าแตก ซึ่งได้แนวคิดจากภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่นิยมใช้มะนาวรักษาอาการคันพุพอง ที่ผิวเท้ามานาน ผสานการดัดแปลงเพื่อสะดวกแก่การใช้ และเก็บรักษาไว้ได้นาน จุดประสงค์เพื่อสร้างครีมรักษาผิวหนังเท้าอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการที่ใช้

น้ำมะนาวอุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งมีคุณสมบัติในการบำรุงผิว และความเป็นกรดของมะนาวสามรถสร้างไขเมื่อทำปฏิกิริยากับไขมันบางชนิดได้ง่าย

สมมุตฐานเชิงประสิทธิภาพ

ครีมมะนาวรักษาผิวหนังเท้าที่สร้างขึ้นมีมีประสิทธิภาพในการรักษาผิวหนังเท้าแตกได้มากกว่าร้อยละ 60

ขอบข่ายที่ศึกษา

มะนาวที่ได้จากการเก็บในชุมชนบ้านบึง หมู่ 1 และ หมู่ 9 ตำบลดอนแรด อำเภอรัตนบุรี จังหวัด สุรินทร์ ปี 2548

ตัวแปรที่ศึกษา

1.ตัวแปรต้น คือ ครีมมะนาว

2.ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพในการรักษาผิวหนังเท้า 3.ตัวแปรควบคุม ชนิดของมะนาว อัตราส่วนผสมน้ำมะนาวกับน้ำมันมะกอก น้ำส้มสายชู นิยามศัพท์ 1.ครีมมะนาว หมายถึง ครีมที่ผลิตขึ้นเองที่มีส่วนผสมของน้ำมะนาว

2.ประสิทธิภาพ หมายถึง จำนวนร้อยละของอาสาสมัครในการใช้ครีมมะนาวแล้วผิวหนังเท้าลดอาการแตกร้าวลง เป็นพื้นที่แคบลงจนเกือบจางหาย

3. น้ำมะนาว หมายถึง ของเหลวที่ได้จาการบีบคั้นแล้วกรองได้ของเหลวจากมะนาว 4. น้ำมันมะกอก หมายถึง น้ำมันมะกอกที่ซื้อได้ตามท้องตลาด 5. น้ำสมสายชู หมายถึง น้ำสมสายชูกลั่นแท้ ชนิดความเข้มข้น 5 เปอร์เซนต์

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมะนาว

มะนาวเป็น ไม้ผลตระกูลส้มประเภทหนึ่งที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายโดยแหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ กาญจนบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และเชียงใหม่ มะนาว จัดได้ว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งที่ตลาดมีความต้องการสูง ตลอดทั้งปี และจากอัตราการเพิ่มของพลเมืองและการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้ม ค่อนข้างสูง รวมทั้งการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีการนำมะนาวมาใช้เป็นวัตถุดิบอีกมาก มาย จึงทำให้มะนาวมีบทบาทสำคัญทางการค้ามากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งประมาณ เดือน มีนาคม-เมษายน ของทุกปี มะนาวจะมีราคาสูงกว่าปกติ คือมีราคาลูกละ 3-4 บาท ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงฤดูแล้งจะมีผลผลิตมะนาวออกสู่ตลาดน้อย ดังนั้น จึงทำให้มีผู้สนใจหันมาปลูกมะนาวนอกฤดูกันมาก

ที่มา : http://www.doae.go.th/library/html/detail/lemon/index.html

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifolia (Christm) Swingชื่อสามัญ Lime, Common Lime หรือ Sour limeวงศ์ Rutaceae 

ชื่อท้องถิ่น ส้มมะนาว มะลิว (เชียงใหม่)

ลักษณะของพืช เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่ม มีหนามตามต้น ก้านใบสั้นตัวใบเป็นรูบกลมรี สีเขียวใบไม้ ขอบใบ หยักเล็กน้อย ปลายและโคนใบมน ขยี้ไปดมจะมีกลิ่นหอม ดอกเล็กสีขาวอมเหลือง หอมอ่อนๆผลกลมเปลือกบางเรียบ มีน้ำมาก รสเปรี้ยวจัด เปลือกผลมีน้ำมัน กลิ่นหอม รสขมการปลูก นิยมปลูกด้วยกิ่งตอน มะนาวขึ้นได้ดีกับดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี ควร ปลูกในฤดูฝน วิธีการปลูก ใช้กิ่งตอนปลูกในหลุม ใช้ปุ๋ยหมักรองเอาไว้หนึ่งก้อน จะต้องรดน้ำทุกวันถ้าฝนไม่ตก

ควรหาอะไรมาบังเป็นร่มเอาไว้ก่อนที่ต้นจะแข็งแรงดี 2.คุณค่าของมะนาวส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกและน้ำในผล ช่วงเวลาที่เก็บยา ช่วงที่ผลแก่จัด รสและสรรพคุณยาไทย เปลือกผล รสขม ช่วยขับลมได้ดี น้ำของผลมะนาวเปรี้ยวจัด เป็นยาขับเสมหะเมื่อเด็กหกล้มหัวโน ใช้มะนาวผสมกับดินสอพองพอกบริเวณที่ในจะทำให้เย็นและยุบเร็วข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ผิวเปลือกของมะนาวมีน้ำมันหอมระเหย "โวลาทิล" เช่น Slaronoid,Organic acid, citral และวิตามิน ซี น้ำมะนาวมีฤทธิ์รักษา โรคลักปิดลักเปิด เนื่องจากมีวิตามินซี สูง สวนฤทธิ์ในการแก้ไอขับเสมหะ เนื่องจากกรดที่มีอยู่ในน้ำมะนาว กระตุ้นให้มีการขับน้ำลายออกมา ทำให้เกิดการชุ่มคอจึงลดอาการไอลงได้ วิธีใช้ เปลือกมะนาวและน้ำมะนาวใช้เป็นยาได้ โดยมีรายการใช้ดังต่อไปนี้คือเปลือกมะนาวรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาเปลือกของผลสดมาประมาณครึ่งผล คลึงหรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออก ชงกับน้ำร้อนดื่มเวลามีอาการน้ำมะนาวรักษาอาการไอและขับเสมหะ ใช้ผลสดคั้นน้ำจะได้น้ำมะนาวเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อยแล้วจิบบ่อยๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงรสให้เข้มข้นพอสมควรดื่มบ่อยๆ ก็ได้อีกเช่นเดียวกัน อร่อย ชุ่มคออย่าลืมใส่น้ำแข็งทุบลงไปด้วยจะเป็น"น้ำมะนาวเย็น" คุณค่าทางอาหาร มะนาวเป็นเครื่องปรุงรสอาหารไทยที่ขาดเสียไม่ได้ น้ำพริกส้มตำ ยำทุกชนิด ลาบและอีกมากมายหลายอย่างจะต้องใช้มะนาวปรุงรสเสมอ จึงจะเกิดรสดี อร่อยสุดๆ นำมะนาวมาคั้นเป็นน้ำมะนาวจะได้น้ำมะนาวเข้มข้น ปรุงรสดื่มช่วย ให้ร่างกายมีความรู้สึกว่าสดชื่นยิ่งขึ้น แก้ไอขับเสมหะได้ดีมากที่เดียว

ประโยชน์ของน้ำมะนาวที่รู้จักกันดีคือมีวิตามิน ซี สูงมาก รักษาโรคเลือดออกตามลายฟัน แต่วิตามินซีจะสะลายตัวง่ายในความร้อน จึงต้องระมัดระวังในการปรุงอาหาร ที่มา : http://www.samunpai.com/samunpai/show.php?cat=1&id=98สรรพคุณ

* ใบ ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้ท้องอืด ท้องเสีย ช่วยขับลม และทำให้เจริญอาหาร * ผล คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน เป็นยาลดเสมหะ รสเปรี้ยวยังช่วยกัดเสมหะให้หลุดออกมาด้วย บำรุงธาตุ เจริญอาหารถ่ายพยาธิ และแก้เลือดออกตามไรฟัน เพราะมะนาวมีวิตามินซีมาก หรือผลดองเกลือใช้เป็นยาขับเสมหะ เนื่องจากในน้ำมะนาวมีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีรสเปรี้ยวกระตุ้นให้มีการขับน้ำลาย และทำให้ชุ่มคอ อีกทั้งช่วยให้ผิวพรรณสดใสขึ้น และลดรอยด่าง ดำ เพราะในผิวมะนาวมีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด * เปลือกผล, เปลือกผลแห้ง ต้มน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง ขับเสมหะ บำรุงกระเพาะอาหาร และขับลม

* รากสด แก้ฟกช้ำจากการถูกกระแทกหรือหกล้ม แก้ปวด และแก้พิษสุนัขกัด

ขนาดและวิธีใช้

* รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด เปลือกผล รสขม ช่วยขับลมได้ดี ใช้เปลือกผลสด 1/2 - 1 ผล ฝานเป็นชิ้นเล็ก ๆ บาง ๆ ชงด้วยน้ำเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำขณะมีอาการ หรือหลังอาหาร 3 เวลา * เป็นยาขับเสมหะ รักษาอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ น้ำของผลมะนาวเปรี้ยวจัด โดยใช้น้ำจากผลที่โตเต็มที่ มีรสเปรี้ยวจัด เติมเกลือเล็กน้อย จิบบ่อย ๆ หรือจะทำน้ำมะนาวเติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย * เมื่อเด็กหกล้มหัวโนหรือฟกช้ำตามแขนขา ใช้น้ำมะนาวผสมกับดินสอพองพอกบริเวณที่โนจะทำให้เย็นและยุบเร็ว * แก้ไอและขับเสมหะ ใช้ผลสดคั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อยหรือคั้นเอาน้ำผสมน้ำผึ้ง (1 ต่อ 3 ส่วน) จิบบ่อยๆ หรือฝานบางๆ จิ้มเกลืออม * แก้ไอ นำใบมะนาวหั่นเป็นฝอย ชงด้วยน้ำเดือด ดื่มแบบน้ำชา ช่วยลดไข้ และใช้อม กลั้วคอ ฆ่าเชื้อโรคได้ดี * แก้ก้างติดคอ หั่นมะนาวเป็นชิ้นอมไว้ ค่อย ๆ กลืนน้ำมะนาว ทำสัก 2-3 ครั้งหรือจนกว่าก้าง จะอ่อนตัวหลุดออก * ดับพิษแก้ปวดแสบปวดร้อน ผ่ามะนาวประคบตรงบริเวณที่เป็นแผล ช่วยบรรเทาอาการได้ดี * แก้คันศีรษะ ใช้น้ำมะนาวนวดศีรษะให้ทั่ว ทิ้งไว้สักครู่ แล้วสระผมตามปกติ * แก้สิว ใช้น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ผสมไข่ขาว 1 ช้อนชา ตีจนเป็นเนื้อเดียวกัน แต้มที่ตุ่มสิว ทิ้งไว้ 30 นาที ล้างออกด้วยสบู่อ่อน ๆ สิวจะหายไป * หน้าใส ใช้น้ำมะนาว 1 ช้อนชา ผสมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้สักครู่ ล้างออกด้วยน้ำสะอาดแล้วซับให้แห้ง ทำอาทิตย์ละครั้ง ผิวหน้าจะดูสดใส * แก้ข้อศอก ส้นเท้าด้านดำ ใช้เปลือกมะนาวที่บีบน้ำออกหมดแล้ว นำมาขัด ๆ ถูผิว ส่วนที่ด้านหรือแตก เช่น ข้อศอกหรือส้นเท้า จะช่วยให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น รอยด้านหรือแตกก็จะค่อยจางลง * ลบรอยด่างดำที่ขาหรือขาลาย มีจุดด่างดำเล็ก ๆ หรือรอยแผลเป็นให้ใช้น้ำมะนาวบีบลงในดินสอพอง พอหมาด ๆ ทาบริเวณขาทุกคืน ก่อนนอนตื่นเช้าค่อยล้างออก รอยด่างดำ จะค่อยจางหายไป * ผสมในน้ำอาบ ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ฝานมะนาวออกเป็น 4 ส่วน ใส่ลงในน้ำที่จะอาบ นอกจากจะช่วยขจัดของเสียออกจากผิวแล้ว และยังทำให้ผิวพรรณสดใสอีกด้วย และทุกเช้าตอนตื่นนอน ดื่มน้ำอุ่นผสมมะนาว ก็จะช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยให้ผิวพรรณสดใสอีกทางหนึ่ง * แก้ปัญหาเล็บเหลือง สำหรับสาวๆ ที่แต้มสีเล็บบ่อยๆ อาจทำให้เล็บเหลืองได้ ให้ใช้สำลีชุบน้ำมะนาวแปะเล็บไว้สัก 10 นาที จะทำให้ คราบสีเหลืองค่อยๆ หายไป และยังทำให้เล็บแข็งแรงขึ้นด้วย * ขจัดรอยเปื้อนยางผลไม้ เมื่อปอกผลไม้ที่มียาง ยางมักติดตามซอกเล็บ แก้ไขได้ โดยใช้เปลือกมะนาวที่บีบน้ำออกหมดแล้ว มาขัดๆ ถูๆ บริเวณที่เปื้อน คราบยางดำๆ จะหลุดลอกออก เล็บมือจะขาวสวยเหมือนเดิม * แก้ลิ้นเป็นฝ้า ใช้สำลีชุบมะนาวเช็ดลิ้นวันละ 3 ครั้ง ฝ้าจะค่อยๆ จางหายไป * แก้กลากเกลื้อน หิด ใช้น้ำมะนาวผสมผงกำมะถัน ทาก่อนนอน * แก้ปูนซีเมนต์กัด ใช้น้ำมะนาวทา ตรงบริเวณที่ถูกปูนกัด * แก้น้ำกัดเท้า ใช้น้ำมะนาวทาที่ตุ่มคัน ทิ้งไว้ให้แห้ง ล้างน้ำสบู่แล้วเช็ดให้แห้ง แล้วเอาแป้งทาตุ่มคัน จะหาย * ดับกลิ่นเต่า ใช้น้ำมะนาวทารักแร้ ป้องกันกลิ่นเต่า * แก้ไฟลวก น้ำร้อนลวก ให้เอาน้ำมะนาวชโลมบริเวณที่ถูก จะช่วยดับ พิษปวดแสบ ปวดร้อนได้ * โรคกระเพาะ ใช้เปลือกผลมะนาว ชงน้ำร้อนดื่ม เป็นยาขับลม และแก้โรคกระเพาะได้ * แก้ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้น้ำมะนาวผสมน้ำตาลกิน * แก้ท้องร่วง ใช้น้ำมะนาวผสมกับน้ำสะอาดดื่ม * ท้องผูก ใช้น้ำมะนาวค่อนแก้วกาแฟ ใส่เกลือเล็กน้อยดื่มทุกวัน เป็นยาระบายได้ดี และเจริญอาหาร * แก้อาหารเป็นพิษ ใช้น้ำมะนาว น้ำปูนใส ใส่เกลือ ให้มีรสเค็ม กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ * แก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ใช้ใบมะนาวสด ต้มน้ำ ใส่น้ำตาลดื่ม * แก้ระดูขาว ใช้น้ำมะนาว 2 ช้อนชา เกลือ น้ำตาล นิดหน่อย ผสมน้ำสุก ใส่น้ำแข็งกิน แก้สตรีมีระดูขาวมาก * ฟอกโลหิต ใช้ใบมะนาว 7 ใบ ต้มน้ำกินครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 เวลา * แก้ไข้ทับฤดู ใช้ใบมะนาว 108 ใบ ต้มน้ำกิน * ขับเสมหะทำให้ชุ่มคอ ใช้ผลมะนาวดองเกลือ จนเป็นสีน้ำตาล จิบน้ำตาล อมชุ่มคอ * ยาแก้ฟกช้ำ ใช้รากสดต้มเอาน้ำกิน จากการถูกกระแทก หรือหกล้ม แก้ปวด และแก้พิษสุนัขกัด * แก้คอแห้ง คั้นน้ำมะนาวใส่ช้อนแล้วเทลงคอ * ขับเสมหะ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ คั้นน้ำมะนาวจากผลสด ผสมเกลือป่น จิบบ่อย ๆ หรือจะปรุงเป็นน้ำมะนาวโดยเติมน้ำตาลและเกลือ ปรุงรสให้จัดเล็กน้อยใช้ดื่มบ่อย ๆ หรือเอาเมล็ดมะนาวที่โขลกผสมพิมเสนมาชงกับน้ำร้อนดื่ม * ป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิด ใช้เตรียมในรูปอาหารและเครื่องดื่ม * แก้ซางในเด็ก นำเมล็ดมะนาวมาคั่วแล้วบดให้เป็นผง ชงหรือต้มน้ำดื่ม

* แก้ปวดฝี แก้พิษอักเสบ ใช้รากฝนกับเหล้าทาบริเวณที่เป็น

บทที่ 3 วิธีดำเนินการ อุปกรณ์การดำเนินการ

อุปกรณ์ เครื่องบีบน้ำมะนาว มีด ชุดกรองน้ำมะนาว บีกเกอร์ กระบอกตวง

วัสดุ มะนาว น้ำมันมะกอก น้ำสมสายชูแท้ 5 % การดำเนิน การดำเนินการประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้ การสร้าง

1.เตรียมลูกมะนาวผ่าครึ่งเข้าเครื่องบีบน้ำมะนาวให้ได้ปริมาณมากกว่า 100 ซีซี

2.นำน้ำมะนาวที่ได้ไปกรองเอาเศษวัสดุปลอมปนออก เหลือเฉพาะน้ำมะนาวจำนวน 100 ซีซี

3.แบ่งน้ำมะนาวออกเป็น 4 บีกเกอร์ ๆ ละ 25 ซีซี

4.นำน้ำมันมะกอกมาใส่บีกเกอร์ที่มีน้ำมะนาวอยู่ บีกเกอร์ละ 25 ซีซี ครบทั้ง 4 บีกเกอร์ คนให้เข้ากัน เติมน้ำส้มสายชูบีกเกอร์ละ 5 ซีซี แล้วคนเข้ากันอีกครั้ง


Return to contents