จากเลขฐานสิบหก 2c0 16 นี้ทำให้เป็นเลขฐานสิบจะมีค่าเท่าไร

            คอมพิวเตอร์มีการทำงานที่ซับซ้อน ข้อมูลมีมากขึ้น เลขฐานสิบหกจึงนิยมนำมาใช้ในการป้อนคำสั่ง หรือเขียนโปรแกรม เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน เลขฐานสิบหกประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว คือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9, และตัวอักษรภาษาอังกฤษ 6 ตัว คือ A,B,C,D,E และ F โดยที่อักษรภาษาอังกฤษแต่ละตัวแทนค่าตัวเลขดังต่อไปนี้

            A แทนเลข 10, B แทนเลข 11, C แทนเลข 12, D แทนเลข 13, E แทนเลข 14 และ F แทนเลข15 การที่ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนตัวเลขในกรณีที่เกินเลข 9 เพราะจะใช้แทนเลขฐานสิบหกเพียงแค่จำนวนเดียวเท่านั้น เช่น ถ้าต้องการเขียนเลข 14 ที่เป็นเลขฐานสิบหก ถ้าเขียนเป็น 1416 จะถือว่าเป็นเลขฐานสิบหก 2 จำนวน คือ เลข 1 และเลข 4 จึงต้องเขียนเป็น E16 แทนจึงจะถือเป็นเลข 14 ในระบบเลขฐานสิบหกจึง จะถูกต้อง การเขียนเลขฐานสิบหกต้องใส่เลขฐานสิบหกกำกับไว้ทุกครั้ง เช่น A16,94716,C4.68516 การอ่านเลขฐานสิบหกต้องอ่านเรียงตัวกันเหมือนกับการอ่านเลขฐานสอง เลขฐานแปด เช่น

            B7116                อ่านว่า        บีเจ็ดหนึ่งฐานสิบหก

            55.FC916          อ่านว่า        ห้าห้าศูนย์จุดเอฟซีเก้าฐานสิบหก

            38.2D16         อ่านว่า        สามแปดจุดสองดีฐานสิบหก

            การกำหนดค่าของเลขฐานสิบหกพิจารณาได้จาก ค่าประจำหลักของเลขฐานสิบหกที่ตัวเลขนั้นปรากฎอยู่ ดังปรากฎในตารางที่ 2.5

ตารางที่ 2.5 ค่าประจำหลักของเลขฐานสิบหก

 ตำแหน่งที่  n  3  1  
จุด (.)
3
 ค่าประจำหลัก  16n  162  161  160 16-1  16-2  16-3  16-n
ค่าประจำหลัก  ...  256  16  0.0625  0.0039  0.0002  ... 

            จากตารางที่ 2.5 ค่าประจำหลักแต่ละตำแหน่งของเลขฐานสิบหก คล้ายกับเลขฐานสิบ เลขฐานสอง เลขฐานแปด ต่างกันที่ฐานของตัวเลขเป็นเลขสิบหก ค่าประจำหลักแต่ละตำแหน่งมีดังนี้

            เลขหน้าจุดตำแหน่งที่ 1 มีค่าประจำหลักคือ160 มีค่าเท่ากับ 1

            เลขหน้าจุดตำแหน่งที่ 2 มีค่าประจำหลักคือ 161 มีค่าเท่ากับ 16

            เลขหน้าจุดตำแหน่งที่ 3 มีค่าประจำหลักคือ 162 มีค่าเท่ากับ 256

            เลขหน้าจุดตำแหน่งที่ n มีค่าประจำหลักคือ 16

            ส่วนตำแหน่งหลังจุด ค่าประจำหลักจะเป็นเลขยกกำลังที่ติดลบหรือทำเป็นจำนวนเศษส่วนจะมีค่าน้อยลงไปเรื่อยๆ เช่น

            เลขหลังจุดตำแหน่งที่ 1 มีค่าประจำหลักคือ 16-1 มีค่าเท่ากับ   1/161  หรือ 0.0625

            เลขหลังจุดตำแหน่งที่ 2 มีค่าประจำหลักคือ 16-2 มีค่าเท่ากับ   1/162  หรือ 0.0039

            เลขหลังจุดตำแหน่งที่ 3 มีค่าประจำหลักคือ 16-3 มีค่าเท่ากับ   1/163  หรือ 0.0002

            เลขหลังจุดตำแหน่งที่ n มีค่าประจำหลักคือ 16-n มีค่าเท่ากับ   1/16n  

              จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่าระบบเลขฐานสิบหกมีตัวเลขที่ใช้อยู่ 10 ตัว คือ 0 ถึง 9 ถ้าเกิน 10 เป็นต้นไปจะใช้อักษรภาษาอังกฤษ 6 ตัว คือ A ถึง F แทน

โดยที่แต่ละตัวแทนตัวเลขต่างๆ กันดังนี้ค่อ A แทนเลข 10, B แทนเลข 11, C แทนเลข 12, D แทนเลข 13, E แทนเลข 14 และ F แทนเลข 15 ในการเขียนและการอ่านเลขฐานสิบหกเหมือนกับเลขฐานสองและเลขฐานแปด การกำหนดค่าของเลขฐานสิบหกขึ้นกับค่าประจำหลักที่ตัวเลขนั้นปรากฎอยู่โดยเลขหน้าจุดค่าประจำหลักเริ่มตั้งแต่ 160,161,162 , ... จะเห็นได้ว่าค่าประจำหลักมีค่ามากขึ้นจากด้านขวามือไปทางซ้ายมือ ส่วนเลขหลังจุดค่าประจำหลักเริ่มตั้งแต่

 16-1, 16-2, 16-3, .... ซึ่งค่าประจำหมือลักจะมีน้อยลงไปเรือยๆ จากด้านซ้ายไปทางด้านขวามือ ระบบเลขฐานสิบ เลขฐานสอง เลขฐานแปด 

และเลขฐานสิบหก มีตัวเลขที่ปรากฏแต่ละตัวเลขที่ปรากฏแต่ละตัวเลขฐานแตกต่างกัน ดังปรากฏในตารางที่ 2.6

        ตารางที่ 2.6 ตัวเลขที่ใช้ในเลขฐานสิบ เลขฐานสอง เลขฐานแปด และเลขฐานสิบหก

เลขฐานสิบ เลขฐานสอง   เลขฐานแปด เลขฐานสิบหก 
0000
1  0001 
 2  0010 
 3  0011 
 4  0100 
 5  0101 
 6  0110 
 7  0111 
 8  1000  10
 9  1001  11 
 10  1010  12 
 11  1011  13 
 12  1100  14 
 13  1101  15 
 14  1110 16 
 15  1111 17

            การทำงานภายในคอมพิวเตอร์       จึงมีการนำเลขฐานสอง เลขฐานแปด และเลขฐานสิบหก มาประกอบกันหรือรวมกันเป็นกลุ่มกันเพื่อแทนตัวเลข อัดขระต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นการทำงานเช่นนั้นได้ จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจระบบเลขฐานต่างๆ เพื่อทำให้เข้าใจพื้นฐานคอมพิวเตอร์มากขึ้น

            สรุปสาระสำคัญ

            ภายในคอมพิวเตอร์จะใช้เลขฐานสองในการเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ เพราะเลขฐานสองประกอบไปด้วยตัวเลข 2 ตัว คือ เลข 0 และเลข 1 ซึ่งจะใช้เลข 1 แทนกระแสไฟฟ้ากระแสเปิด (ON) และเลข 0 แทนกระแสไฟฟ้าปิด (OFF)

            ระบบเลขฐานสิบ ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว คือ 0 ถึง 9

            ระบบเลขฐานสอง ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว คือ 0 ถึง 1

            ระบบเลขฐานแปด ประกอบด้วยตัวเลข 8 ตัว คือ 0 ถึง 7

            ระบบเลขฐานสิบหก ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว คือ 0 ถึง 9 และ A ถึง F ซึ่ง A = 10, B = 11, C = 12, D = 13, E = 14, F = 15

            การเขียนเลขฐานสอง เลขฐานแปด และเลขฐานสิบหก ให้เขียนเลขฐานกำกับไว้ทางด้านขวาล่างเพื่อให้รู้ว่าเป็นเลขฐานอะไร

            การเขียนเลขฐานสอง เลขฐานแปด และเลขฐานสิบหก  ต้องอ่านตัวเลขเรียงตัวจากด้านซ้ายมือไปด้านขวามือ และอ่านเลขฐานกำกับด้วย

            การเขียนเลขฐานสอง เลขฐานแปด และเลขฐานสิบหก  มีค่าประจำหลักในแต่ละตำแหน่งที่เลขฐานนั้นปรากฏ ซึ่งค่าต่างๆ กัน ดังปรากฏในตารางที่ 2.7

เลขฐานสิบ  10n  ... 102  101 100  

 จุด (.)

10-1 10-2 ... 10-n
 เลขฐานสอง  2n  ... 22  21 20 2-1 2-2 ... 2-n
เลขฐานแปด 8n ... 82  81 80  8-1 8-2  ...  8-n
เลขฐานสิบหก 16n  ...  162  161 160   16-1  16-2 ...  16-n

            จากตารางที่ 2.7 สังเกตว่าค่าประจำหลักแต่ละเลขฐานจะแตกต่างกันที่เลขฐานเท่านั้น ส่วนเลขยกกำลังตำแหน่งเดียวกันจะเหมือนกันทุกเลขฐาน